มารยาทคนญี่ปุ่น
การใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้ต้องค่อยๆ เรียนรู้และฝึกจนเป็นนิสัยไปทีละเล็กละน้อย ในการใช้ชีวิตแต่ละ วันที่ญี่ปุ่นเวลานัดกับใครต้องรักษาเวลา เมื่อไปไม่ได้หรือไปไม่ตรงตามนัดต้องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า ถ้าไม่รักษาสัญญาจะทำให้อีกฝ่ายขาดความเชื่อถือ และตอนแรก ๆ คนญี่ปุ่นมักจะไม่ค่อยคุยด้วยเนื่องจายังไม่คุ้นเคยกัน แต่เมื่อสนิทกันแล้วก็จะยอมรับ และเปิดใจมากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นมักจะมีเพื่อนหลายกลุ่ม ในหนึ่งวันเขาอาจจะพบเพื่อนจากที่โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อนเที่ยวแตกต่างกันไปทั้งวัน ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงดูไม่ค่อยสนิทกันมากนัก และโดยปกติผู้ชายญี่ปุ่นมักจะทำงานหนักไม่ว่าจะก่อน หรือหลังแต่งงาน และมักจะทำงานกันจนดึกจนดื่นจนคล้ายกับว่าไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว เพราะเป็นวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นก็ว่าได้ที่ทุกคนจะต้องทุ่มเทกับงานให้เต็มที่
1. การใช้ภาษากับระดับความสัมพันธ์
สังคมของคนญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มโดยมีสถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกันเรียกว่า(อุชิ) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่นเรียกว่า(โซโตะ) คนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปจากต่อคนที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพและการถ่อมตนกับผู้ที่เป็นผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นก็ตาม การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ว่าคู่ที่สนทนาอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าวถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูดกับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย
การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็นลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมาก ในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่นการใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำนั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้เกื้อหนุนอุ้มชูเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบพรคุณมาก (อาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น
2. วิธีการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะ
ในการคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ “ความสอดประสานกลมกลืนกัน” ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นจึงไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “chotto…” ซึ่งก็คือ “ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “ไม่สะดวก” คำว่า “chotto”ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วย เป็นสำนวนที่สะดวกมากแม้แต่ในสถานการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ สำนวนอ้อม ๆ ก็ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “kentô shitemimasu” ซึ่งมีความหมายว่า “จะลองพิจารณาดู” แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า “กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ” รวมอยู่ด้วย
3. การโค้ง
การโค้งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) ชาวญี่ปุ่นไม่นิยมไหว้แบบคนไทย หรือจับมือแบบฝรั่ง แต่จะนิยมโค้งแทนในเวลาที่พบหรือลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นนับว่าซับซ้อนพอควร เช่น การโค้งควรจะต่ำเพียงไรและโค้งได้นานเท่าไร หรือโค้งเป็นจำนวนกี่ครั้ง และโค้งในโอกาสอะไร เช่น ผู้อาวุโสก้มให้ลึก แต่ถ้าระดับเท่ากันโค้งพองาม นอกจากโค้งเวลาพบกันหรืออำลาจากกันแล้ว สามารถโค้งเมื่อต้องการขอบคุณ
การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
4. รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น
เมื่อคุณได้รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น นับว่าเป็นเกียรติมาก เพราะคนญี่ปุ่นจะคิดว่าบ้านตนเองเล็กคับแคบและไม่ค่อยจะรับแขกที่บ้าน แม้กระทั่งคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง ดังนั้นร้านอาหาร กาแฟ จึงเป็นที่นิยมมาก เมื่อคุณได้รับเชิญแล้วอย่าลืมนำของฝากเล็กๆน้อยๆติดมือไปฝากเจ้าของบ้านด้วย อาจเป็นผลไม้ ดอกไม้ ขนม เพื่อแสดงถึงน้ำใจ หากเป็นการเชิญรับประทานอาหารคุณอาจซื้อเป็นเหล้าไปฝาก เพราะที่รู้ชายและหญิงมักนิยมดื่มสุรา อย่านำเพื่อนตามไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยไม่ได้รับเชิญ เจ้าของบ้านจะอึดอัดและเป็นการไม่สุภาพ หลังจากไปเยี่ยมบ้านเขาแล้วอย่าลืมโทรศัพท์หรือส่งจดหมายไปขอบคุณ และเมื่อพบกันครั้งต่อไป อย่าลืมขอบคุณที่เขาเคยชวนไปบ้าน
5. มารยาทเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่น
เมื่อไปเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่ สิ่งที่ควรระวังก็คือเวลา ไม่ควรจะเยี่ยมบ้านตอนเวลาทานอาหาร นอกจากว่าเจ้าของบ้านชวนให้มาทานอาหารกันที่บ้าน คนญี่ปุ่นถือว่าการเยี่ยมบ้านคนอื่นตอนเวลาทานอาหารเป็นสิ่งที่เสียมารยาท ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเยี่ยมก็คือตอนสายๆหรือตอนบ่าย ไม่ควรเป็นตอนเย็นมากด้วย เพราะแม่บ้านเขาคงจะต้องเริ่มเตรียมอาหารเย็น ถ้าโดยบังเอิญไปถึงบ้านเขาในขณะเขาทานอาหารอยู่พอดี เราก็ควรจะบอกว่า Oshokuji chuu ni ojamashite moushiwake arimasen (ขอโทษที่รบกวนเวลาทานอาหาร) และควรจะรอที่ห้องอื่น ตามปกติเจ้าของบ้านก็จะไม่ชวนกินข้าวด้วยกัน (อันนี้ไม่เหมือนกับเมืองไทย) เพราะว่าเจ้าของบ้านไม่ได้เตรียมอาหารอย่างดีสำหรับแขก และตามปกติคนที่จะเยี่ยมก็ต้องทานข้าวให้เสร็จมาก่อนที่จะเยี่ยมอยู่แล้ว
ตอนไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ ควรจะนำของฝากสักอย่างก็ถือว่าเป็นมารยาทดี ตามปกติแล้วของฝากในกรณีเยี่ยมบ้านคนอื่น ควรเป็นขนมแบบที่ใส่ในกล่องสวย(ไม่ใช่ที่ใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา) หรือขนมแค้ก ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีร้านขายขนมแบบสวยงามที่ใส่กล่องดีๆเยอะ เพราะว่าในมารยาทญี่ปุ่นก็จะมีโอกาสใช้กันบ่อย ซึ่งขนมแบบนี้ไม่ใช่เป็นขนมสำหรับผู้ซื้อเพื่อกินเอง แต่สำหรับของฝากในการเยี่ยมคนอื่นมากกว่า
6. รองเท้า
คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น (りょかん/Ryokan ) รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ
7. มารยาทบนโต๊ะอาหาร
การเรียนต่อญี่ปุ่นนั้น นักเรียนอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมรับประทานอาหารกับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ที่ติดตัวไปด้วย
ก่อนเริ่มรับประทานอาหารทุกครั้ง นักเรียนจะต้องพูดคำว่า いただきます Itadakimasu และพูดคำว่า ごちそうさまでした Gochisousama deshita เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำและมีความหมายในเชิงขอบคุณ ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าบ้านเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
ขณะรับประทานอาหาร คนญี่ปุ่นมักจะพูดคำว่า Oishii ซึ่งแปลว่าอร่อย เพื่อชมผู้ปรุงอาหารและถือเป็นการขอบคุณด้วย
ตามมารยาทของคนญี่ปุ่นแล้ว ควรจะทานข้าวให้หมดชาม ถ้าเป็นอาหารชุดก็ควรจะทานทุกอย่าง ยกเว้นแต่ว่าจะทานไม่ไหวแล้วจริง ๆ และก่อนเปิดตู้เย็นเพื่อหยิบหรือเก็บอะไร ควรจะขออนุญาตจากครอบครัวก่อน
ชาวญี่ปุ่นนั้นแทบทุกบ้านจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร
การปฎิบัติเหล่านี้บนโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
1. การกำตะเกียบเป็นกิริยาที่ไม่ดี
2. การจับตะเกียบและถ้วยข้าวด้วยมือเดียวกัน
3. “ โยเซบาฉิ” (よせばし)การเลื่อนชามไปข้างหน้าด้วยตะเกียบ (จะโยกย้ายอะไรก็ใช้มือให้สุภาพเข้าไว้)
4. “ ซึคิบาฉิ” (すきばし)การเสียบอาหารด้วยตะเกียบ
5. “ ซากุริบาฉิ” การเลือกอาหารที่มีรสอร่อย หรือน่ากินในจานอาหาร (อย่าลืมว่าใครๆก็อยากรับประทานของอร่อยในจานเหมือนกัน อย่าเผลอเลือกรับประทานคนเดียวจนหมด)
6. “ มาโยอิบาฉิ”(まよいばし) การถือตะเกียบจดๆจ้องๆไตร่ตรองถึงสิ่งที่จะรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหาร (หรือพูดง่ายๆว่าก็เล็งรับประทานอะไรไว้ก็มุ่งหนีบรับประทานซะดีกว่า เลือกไปเลือกมาดูเหมือนจะทิ้งของที่ไม่อร่อยให้คนอื่นรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เก็บความรู้สึก ถึงอยากรับประทานก็ต้องมีมารยาทไว้ก่อน)
7. การเสียบตะเกียบไว้บนข้าวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
8. ห้ามหยิบตะเกียบจนกว่าผู้อาวุโสคนใดคนหนึ่งจะหยิบขึ้นมาก่อน
9. ห้ามขูดเม็ดข้าวจากตะเกียบ
10. ห้ามทานอาหารจากซุปโดยไม่ยกชามซุปขึ้นจากถาด
11. ห้ามตักอาหารจากจานซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกฟากหนึ่งโดยที่ไม่ยกจานขึ้นมา
12. ห้ามยกจานทางขวามือด้วยมือซ้าย หรือยกจานทางซ้ายมือด้วยมือขวา
13. ห้ามหยิบอาหารที่มีซอสเหลวๆวางบนข้าว หรือทานข้าวราดน้ำซอส
14. ห้ามหยิบและกัดอาหารซึ่งไม่อาจจะทานได้ในคำเดียว ขอให้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆด้วยตะเกียบ
8. การแชร์กันออกค่าอาหาร
คนญี่ปุ่นก็จะมีการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน
9. การส่งเสียงดัง
ในเมืองใหญ่บางคนมีความรู้สึกไวโดยเฉพาะต่อเสียงต่างๆ ที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวันและไม่ใจกว้างยอมรับแม้แต่เสียงที่เด็กทำขึ้นจึงขอให้ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าอาศัยอยู่ที่บ้านพักรวมอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ โดยทั่วไปหลัง 22:00 น. พยายามอย่าส่งเสียงดังให้คนข้าง บ้านได้ยิน บางคนทำงานตอนกลางคืน และนอนพัก ตอนกลางวัน จึงเป็นเวลาสำคัญสำหรับพวกเขา มีบางครั้งสำหรับตัวเองเสียงอาจไม่ดัง แต่โครงสร้างอาคารอาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ โดยเฉพาะ การ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า การเข้าออก การเปิดปิดประตูในตอนกลางคืน ขอให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน กรณีบ้านพักรวม แจ้งกับ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ทำสัญญาเช่า นอกเหนือจากนี้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สมาคม ปกครองตนเอง (จิชิคะอิ)
ทุกวันนี้ ครอบครัวญี่ปุ่นส่วนมากมีบุตรเพียงหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น ผลก็คือ อายุเฉลี่ยของประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจำนวน 20.014 ล้านคน แต่มีประชากรที่มีอายุมากกว่า 64 ปีถึง 18.261 ล้านคน ผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นอาศัยอยู่โดยลำพัง และคนหนุ่มสาวแต่งงานช้าลง อายุเฉลี่ยของการแต่งงานของผู้ชายคือ 29.8 ปี และของผู้หญิงคือ 27.3 ปี ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเหลือให้ทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่วัฒนธรรมญี่ปุ่นประกอบขึ้นจากการผสมกัน ระหว่างวัฒนธรรมเก่าและใหม่ วัฒนธรรม ทางตะวันตกและตะวันออก ทางด้านอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน ยังมีร่องรอยของความ เป็นประเทศกสิกรรม หลงเหลืออยู่ แม้ว่าความเจริญทางอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ผ่าน มาจะทำให้ญี่ปุ่นได้แปรสภาพ เป็นประเทศที่มี ความก้าวหน้า ทางด้านอุตสาหกรรม สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชียยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิอุกิโยะ-เอะตุ๊กตาเครื่องเคลือบเครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิโน บุนระกุระกุโงะและประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชาศิลปการต่อสู้สถาปัตยกรรมการจัดสวนดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชียยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิอุกิโยะ-เอะตุ๊กตาเครื่องเคลือบเครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิโน บุนระกุระกุโงะและประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชาศิลปการต่อสู้สถาปัตยกรรมการจัดสวนดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523
ดนตรี
ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะโคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิคที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากรเซจิ โอะซะวะนักไวโอลินมิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น
วรรณกรรม
วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิและหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ตำนานเกนจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่นตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ,ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ,ยะซุนะริ คะวะบะตะ,มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮะรุกิ มุระกะมิญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ ยะซุนะริ คะวะบะตะ (พ.ศ. 2511) และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537)
กีฬา
หลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษาในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่นกีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่
ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น เช่น ยูโดคาราเต้ และเคนโด้ ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน
การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479 มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบันเบสบอลเป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ อิจิโร ซุซุกิ และ ฮิเดะกิ มัตซุย ตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้นญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้ในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศเอเชียนคัพ 3 ครั้ง
อาหาร
ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิเทมปุระสุกียากี้ยากิโทริและโซบะอาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่นอาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำฤดูวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุมิโสะเต้าหู้ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย
ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าวและโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น
ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะอาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่นอาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ซามูไร(Samurai) หมายความว่า ผู้รับใช้ ดาบที่อยู่ในญี่ปุ่นมักไม่เรียกว่า ดาบซามูไร คนต่างประเทศเท่านั้นที่จะเรียกดาบญี่ปุ่นว่า ดาบซามูไร ซามูไร เป็นชื่อเรียกของนักรบ หรือเรียกง่ายๆ แบบของยุโรบว่า ฮัศวินลัทธิ "บูชิโด" สอนให ้เหล่าซามูไร ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ต่อหน้าที่ และจงรักภักดี ต่อเจ้านายของตน ซามูไรถือว่า ความตายเป็นเรื่องเล็กน้อย ปรัชญาแห่งบูชิโด กล่าวไว้ว่า "ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก" ส่วนมาก คนญี่ปุ่นจะ เห็นศักดิ์ศรี เป็นหลัก ชีวิตเป็นรอง จะเห็น ตัวอย่างถึงทุกวันนี้ เรื่องที่ว่าญี่ปุ่นเป็นชาตินิยม ว่ากันว่าดาบซามูไรนั้น คมมาก ดาบสามารถ ฟันคอขาดได้ เพียงครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับ จากดาบ จะเจ็บปวดมาก ซามูไร ยังต้องเรียนรู้ การใช้ดาบ อย่างช่ำชอง ว่องไว และคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือน เป็นส่วนหนึ่งของ ร่างกาย จากความสามารถนี้เอง ทำให้ซามูไร เพียงคนเดียว สามารถสังหารศัตรู ที่รายล้อมตน กว่าสิบคน ได้ภายในชั่วพริบตา ด้วยดาบเพียงเล่มเดียว แต่ประเพณี การต่อสู้ ของชนชั้นซามูไร คือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่ คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึง ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตาย อย่างสมเกียรติ ด้วยการทำ"เซปปุกุ" ชนิดของดาบซามูไร ดาบมีหลายแบบและหลายประเทศ แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ ๓ ชนิดดังนี้ -ดาบยาว (Long Sword) ๑. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า ๗๐ เซนติเมตร ๒. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. ๒๐๐๐) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ ๖๐.๖ เซนติเมตรขึ้นไปถึง ๗๐ เซนติเมตร -ดาบขนาดกลาง (Medium Sword) "วากิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้วถึง ๒๔ นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น -ดาบขนาดสั้น (Short Sword) ๑. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ ๒. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น